สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

- นักเรียนทำการสัมผัสดินเพื่อตรวจวัดเนื้อดินอย่างไร และได้ผลเป็นอย่างไร (นำดินแห้งที่ผ่านการเตรียมดินมานวดผสมกับน้ำ ตรวจสอบผลการคลึง ปั้นดิน และความรู้สึกผิวสัมผัส กับตาราง ซึ่งผลอาจเหมือนหรือแตกต่างกันตามผลลักษณะดินของแต่ละกลุ่ม)

- เหตุใดจึงต้องชั้งมวลของดินเพื่อหาค่าความชื้นภายในดิน (เพื่อเปรียบเทียบมวลที่หายไปซึ่งเป็นมวลของน้ำระเหยออกไปเมื่อตากให้แห้ง นั่นคือความชื้นภายในดิน)

- ค่าความเป็นกรด-เบสของดินในช่วงใดที่จัดว่าดินมีความเป็นกรด และช่วงใดที่จัดว่าดินเป็นเบส (ค่า pH เท่ากับ ๗ ค่าความเป็นกรด-เบสของดินเป็นกลาง  เมื่อวัดค่า pH ได้น้อยกว่า ๗ หมายความว่าดินมีความเป็นกรด ยิ่งค่า pH ต่ำดินก็ยิ่งมีความเป็นกรดสูง และเมื่อวัดค่า pH ได้มากกว่า ๗ ดินมีความเป็นเบส ยิ่ง pH สูงขึ้นดินมีความเป็นเบสสูง)

- การตรวจวัดธาตุอาหารในดินทราบได้อย่างไรว่ามีธาตุอาหารแต่ละชนิดในระดับสูงหรือต่ำ (เปรียบเทียบสีจากผลการตรวจวัดกับแถบสีมาตรฐานของชุดตรวจวัดความอุดมสมบูรณ์ของดิน)

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 6.1 ม.2/10

จุดประสงค์การเรียนรู้

สังเกตและตรวจวัดเนื้อดิน ความชื้นในดิน  ค่าความเป็นกรด-เบสของดิน และธาตุอาหารในดิน

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการประเมิณ

ด้านความรู้

ประเมิน

๑. การบันทึกการสำรวจสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์ดินบริเวณที่ศึกษา

๒ ดินที่ได้จากวิธีการ เตรียมดินตามกระบวนการที่ถูกต้อง

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ประเมิน

1. การบรรยายรายละเอียดวิธีการเตรียมดินให้สามารถดำเนินการได้ถูกต้องเหมาะสม และให้ข้อมูลผลการสำรวจดินโดยไม่เพิ่มเติมความคิดเห็น

2. การใช้เครื่องชั่ง ๓ แขน และอุปกรณ์ที่ใช้สำรวจบันทึสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์ดินบริเวณที่ศึกษา รวมทั้งการใช้เครื่องมือวัดปริมาณ

ในการเตรียมดิน

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

ประเมิน

1. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความรอบคอบ ความละเอียดถี่ถ้วนในการสังเกตและบันทึกเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์ดินในบริเวณที่ศึกษา และการตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์เพื่อการทำกิจกรรมและการทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

2. การนำหลักฐานหรือข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การจากรวบรวมข้อมูล และจากการอภิปรายมาใช้สนับสนุนการอธิบายผลการสำรวจสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์ดินบริเวณที่ศึกษา

3. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการทำกิจกรรม การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จตามกำหนดและตรงต่อเวลา อดทนแม้การทำกิจกรรมจะมีปัญหาและใช้เวลา

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

ประเมิน

1. การสื่อสาร โดยใช้ภาพ ข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อวางแผนกระบวนการดำเนินการ อธิบายแผนการดำเนินการให้สามารถทำการสำรวจ เตรียมดิน  ให้เข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง

2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม การให้ข้อเสนอแนะและการโต้แย้งโดยใช้เหตุและผล และการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำกิจกรรม การช่วยเหลือเพื่อนในขณะทำกิจกรรม การปฏิบัติตามคำชี้แนะ และใช้การตัดสินใจเป็นทีมแบบฉันทามติ         

เครื่องมือ

ใบงาน เรื่อง ลักษณะและสมบัติบางประการของดินและแนวทางการใช้ประโยชน์ดิน

ใบความรู้ เรื่อง ลักษณะและสมบัติบางประการของดินและแนวทางการใช้ประโยชน์ดิน

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ดินรอบตัว
ชั่วโมง ดินรอบตัว
เรื่อง ลักษณะและสมบัติบางประการของดินและแนวทางการใช้ประโยชน์ดิน (2) 9 ม.ค. 66 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)