สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การหมุนบนระนาบ เป็นการแปลงทางเรขาคณิตที่มีจุด O  ที่ตรึงจุดหนึ่งเป็น จุดหมุน หรือ จุดศูนย์กลางของการหมุน แต่ละจุด P บนระนาบ มีจุด P′ เป็นจุดที่สมนัยกับจุด P  และเป็นภาพที่ได้จากการหมุนจุด P  รอบจุด O  ตามทิศทางที่กำหนดด้วยมุมที่มีขนาด k องศา  โดยที่ OP = OP′

สมบัติของการหมุน

1) รูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการหมุน สามารถทับกันได้สนิทโดยไม่ต้องพลิกรูป หรือกล่าวว่า       รูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการหมุนเท่ากันทุกประการ

2) จุดแต่ละจุดบนรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการหมุนจุดนั้น จะอยู่บนวงกลมเดียวกันที่มีจุดหมุนเป็นจุดศูนย์กลาง แต่วงกลมทั้งหลายเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีรัศมียาวเท่ากัน

3) เส้นตรงที่แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดบนรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการหมุนจุดนั้น จะผ่านจุดหมุนเสมอ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด ค 2.2 ม.2/3

เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

 จุดประสงค์การเรียนรู้

นักเรียนสามารถ

 1. หาภาพที่ได้จากการหมุนรูปต้นแบบบนระนาบ

 2. บอกพิกัดของจุดบนภาพที่ได้จากการหมุนรูปต้นแบบในระบบพิกัดฉาก

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

                   1. ตรวจแบบฝึกหัด 4 การหมุนบนระบบพิกัดฉาก

        2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                   3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

เครื่องมือ

                   1. แบบฝึกหัด 4 การหมุนบนระบบพิกัดฉาก

                   2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                   3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เสน่ห์ไทยด้วยการแปลง
ชั่วโมง เสน่ห์ไทยด้วยการแปลง
เรื่อง ชูรูปขึ้นแล้วหมุนหมุน (2) 3 ม.ค. 66 (มีแบบฝึกหัด)