สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 การพยากรณ์อากาศ เป็นการคาดการณ์ลมฟ้าอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีการตรวจวัดองค์ประกอบลมฟ้าอากาศ การสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศระหว่างพื้นที่การวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างคำพยากรณ์อากาศ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

อธิบายการนำคำพยากรณ์อากาศไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูก
ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. การลงความเห็นจากข้อมูล เกี่ยวกับการนำคำพยากรณ์ไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกจากข้อมูลที่รวบรวบได้
2. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป เกี่ยวกับการนำคำพยากรณ์ไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกจากข้อมูลที่รวบรวบได้
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
1. ความรอบคอบ ความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม รวมถึงการทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน โดยใช้หลักฐานที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลมาใช้สนับสนุนการอธิบายการนำคำพยากรณ์ไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก
3. ความซื่อสัตย์ ในการเก็บรวบรวมหลักฐานหรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรมตามความเป็นจริง
4. วัตถุวิสัย การแปลความหมายข้อมูลให้สอดคล้องกับหลักฐานหรือข้อมูลอย่างเที่ยงตรง ไม่มีอคติ ไม่นำความเชื่อส่วนตัวหรือไม่ใส่ข้อคิดเห็นของตนเองในการแปลความหมายข้อมูล
5. ความมุ่งมั่นอดทน โดยมุ่งมั่นตั้งใจในการทำกิจกรรม เพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบายการนำคำพยากรณ์ไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
 1. การสื่อสาร โดยใช้ภาพ ข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อนำเสนอและอธิบายการเลือกชนิดพืชและการวางแผนการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในท้องถิ่น
 2. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้มาใช้แปลความหมายและอธิบายเกี่ยวกับการนำคำพยากรณ์อากาศย้อนหลังมาใช้ในการตัดสินใจเลือกชนิดพืชและการวางแผนการเพาะปลูกให้เหมาะสม กับสภาพอากาศในท้องถิ่น
 3. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการตีความหมายข้อมูลวิเคราะห์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลที่รวบรวมได้ ในการอธิบายเกี่ยวกับการนำคำพยากรณ์อากาศย้อนหลังมาใช้ในการตัดสินใจเลือกชนิดพืชและการวางแผนการเพาะปลูกให้เหมาะสม กับสภาพอากาศในท้องถิ่น

 

 

 

 

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

ด้านความรู้ โดยประเมินจาก

การอภิปราย การตอบคำถาม และการบันทึกผลการทำกิจกรรมลงในใบงานที่ 3 เกี่ยวกับการนำคำพยากรณ์ อากาศย้อนหลังมาใช้ในการตัดสินใจเลือกชนิดพืชและการวางแผนการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในท้องถิ่น
 ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก

1. การลงความเห็นจากข้อมูล จากความสามารถในการสร้างคำพยากรณ์อากาศย้อนหลังมาใช้ในการตัดสินใจ เลือกชนิดพืชและการวางแผนการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในท้องถิ่นได้
2. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล การอภิปราย การตอบคำถามและลงข้อสรุปเกี่ยวกับการสร้างคำพยากรณ์อากาศมาใช้ในการตัดสินใจเลือกชนิดพืชและ การวางแผนการเพาะปลูกได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครู

 ด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก    
1. ความรอบคอบ จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงการทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน จากการนำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจเลือกชนิดพืชและการวางแผนการเพาะปลูกได้อย่างสมเหตุสมผล
3. วัตถุวิสัย จากการแปลความหมายข้อมูลโดยใช้หลักฐานหรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรมตามผลการทำ
กิจกรรมที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริงและอย่างมีเหตุและผล
4. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการทำกิจกรรม การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จตามกำหนดและตรงต่อเวลา อดทนแม้การทำกิจกรรมจะมีปัญหาและใช้เวลา

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน โดยประเมินจาก
1. การสื่อสาร จากการใช้ภาพ ข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการอธิบายการเลือกชนิดพืชและการวางแผนการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในท้องถิ่น ให้เข้าใจง่ายและถูกต้อง
 2. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามเกี่ยวกับการเลือกชนิดพืชและการวางแผนการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในท้องถิ่นโดยใช้หลักฐานหรือข้อมูลที่รวบรวมได้มาสนับสนุนคำอธิบายได้ถูกต้องและเหมาะสม
 3. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามและจากการบันทึกข้อมูล ซึ่งมีการตีความหมายข้อมูล วิเคราะห์และสร้างข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อมูลที่ได้จากการอภิปราย และจากการรวบรวมข้อมูลในการเลือกชนิดพืชและการวางแผนการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในท้องถิ่นได้อย่างถูกต้องและสมเหตุสมผล
8.2 เครื่องมือ
1. ใบกิจกรรมที่ 3 ใช้ประโยชน์จากการพยากรณ์อากาศในการวางแผนการทำเกษตรกรรม
2. ใบงานที่ 3 ใช้ประโยชน์จากการพยากรณ์อากาศในการวางแผนการทำเกษตรกรรม

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง ลมฟ้าอากาศ
ชั่วโมง ลมฟ้าอากาศ
เรื่อง การพยากรณ์อากาศ (5) 22 ก.พ. 66 (มีใบงาน และใบกิจกรรม)