สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  ลมฟ้าอากาศเป็นสภาวะของอากาศในเวลาหนึ่งของพื้นที่หนึ่ง ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบลมฟ้า อากาศ องค์ประกอบลมฟ้าอากาศที่สำคัญองค์ประกอบหนึ่ง คือ อุณหภูมิอากาศซึ่งปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์และลักษณะพื้นผิวโลกส่งผลต่ออุณหภูมิอากาศ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศในรอบวัน
2. วิเคราะห์และอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศ
ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. การวัด ในการหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ จากเครื่องมือที่เลือกใช้
2. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศในเวลาต่าง ๆ ของพื้นที่ที่เลือกไว้ไม่น้อยกว่า 5 วัน
3. การตั้งสมมติฐาน การคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง โดยอาศัยการสังเกตความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน เป็นข้อความ บอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ซึ่งอาจเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ก็ได้
4. การกำหนดและควบคุมตัวแปร ในการกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตามและตัวแปรที่ต้องควบคุมให้คงที่ ให้สอดคล้องกับสมมติฐานของการทดลอง
5. การทดลอง โดยออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลองและการบันทึกผลการทดลองเกี่ยวกับอุณหภูมิอากาศในสถานที่ต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
  ความรอบคอบ ความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรมรวมถึงการทำงานอย่างเป็น ระเบียบเรียบร้อย
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
  การรวมพลังทำงานเป็นทีม ในการสื่อสารและการวางแผนการทำกิจกรรม

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

ด้านความรู้ โดยประเมินจาก

  การอภิปรายและตอบคำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศในรอบวันและปัจจัยที่มีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศ
 ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก

1. การวัด จากการใช้เทอร์มอมิเตอร์และระบุหน่วยของการวัดได้ถูกต้อง
2. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล จากการนำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิอากาศในเวลาต่าง ๆ ของพื้นที่ที่เลือกไว้มาจัดกระทำเพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและสื่อความหมายได้ชัดเจน
3. การตั้งสมมติฐาน จากการคิดคำตอบล่วงหน้าเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาของวันกับการ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศและระหว่างสภาพแวดล้อมของพื้นที่กับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศ
4. การกำหนดและควบคุมตัวแปร จากการกำหนดตัวแปรของการทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศได้สอดคล้องกับสมมติฐานของการทดลอง
5. การทดลอง จากการออกแบบการทดลอง ปฏิบัติการทดลองและบันทึกผลการทดลองเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศได้สอดคล้องกับสมมติฐานของการทดลองได้ถูกต้องและเหมาะสม
ด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยประเมินจาก     
ความรอบคอบ จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผน
การทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงการทำงานอย่างเป็นระเบียบ เรียบร้อย
ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน โดยประเมินจาก
การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสื่อสารและการวางแผนการทำกิจกรรมได้อย่างชัดเจนและเหมาะสม

8.2 เครื่องมือ
1. ใบกิจกรรมที่ 1 อุณภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างไร
2. ใบงานที่ 1 อุณภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างไร
3. ใบความรู้ที่ 1 การใช้เทอร์มอมิเตอร์รูปตัวยู

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง ลมฟ้าอากาศ
ชั่วโมง ลมฟ้าอากาศ
เรื่อง อุณหภูมิอากาศ (1) 18 ม.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้ และใบกิจกรรม)