สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  • กราฟเส้นเป็นการนำเสนอข้อมูลโดยใช้จุดและส่วนของเส้นตรงที่ลากเชื่อมต่อจุด ซึ่งจุดแต่ละจุดจะบอกจำนวนหรือปริมาณของข้อมูลแต่ละรายการ  เรานิยมใช้กราฟเส้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตามลำดับก่อนหลังของเวลาที่ข้อมูลนั้น ๆ เกิดขึ้น  ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับข้อมูลได้รวดเร็ว และช่วยให้เห็นแนวโน้มตลอดจนความสัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างข้อมูลซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์เกี่ยวกับข้อมูลนั้นได้อีกด้วย
  • จุดเด่นของการนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟเส้นคือ สร้างได้ง่าย และเปรียบเทียบค่าของข้อมูลได้ง่าย แต่หากถ้าข้อมูลแต่ละรายการมีค่ามาก และกำหนดสเกลไม่เหมาะสม จะทำให้การเขียนกราฟเส้นเกิดความคลาดเคลื่อนจากข้อมูลจริงได้ง่ายทำให้ได้ค่าของข้อมูลที่ไม่ชัดเจน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ค 3.1 ม.1/1 เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลรวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริงโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. นักเรียนสามารถอ่านข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลที่มีอยู่ในชีวิตจริงที่นำเสนอด้วยกราฟเส้น

2. นักเรียนสามารถบอกจุดเด่นและข้อจำกัดของการนำเสนอด้วยกราฟเส้น

ด้านทักษะและกระบวนการ

1.  นักเรียนสามารถสื่อสารและสื่อความหมายแนวคิดจากการอ่านและแปลความหมายข้อมูลที่นำเสนอในรูปแบบที่กำหนดให้

2.  นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้เรื่องการนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง กราฟเส้น และแผนภูมิรูปวงกลม ไปใช้ในการอ่านและแปลความหมายข้อมูลของสถานการณ์ที่อยู่ในชีวิตจริง

3.  นักเรียนสามารถให้เหตุผลในการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลที่นำเสนอในรูปแบบที่กำหนดให้

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

8.1.1 แบบฝึกหัด 4 : มองเส้น เห็นแนวโน้ม

8.1.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

8.2 เครื่องมือ

8.2.1 แบบฝึกหัด 4 : มองเส้น เห็นแนวโน้ม

8.2.2 แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 เรื่อง นักสำรวจรุ่นเยาว์
ชั่วโมง นักสำรวจรุ่นเยาว์
เรื่อง รู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร (3) 20 มี.ค. 2566 (มีแบบฝึกหัด)