สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณที่เมื่อนำมาเขียนกราฟแล้วได้กราฟที่มีลักษณะเป็นเส้นตรง เป็นส่วนหนึ่งของเส้นตรง หรือเป็นจุดที่เรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน เรียกความสัมพันธ์ในลักษณะเช่นนี้ว่า ความสัมพันธ์เชิงเส้น 

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

1.3 ม.1/2     เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับกราฟในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

1.3 ม.1/3     เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงเส้นในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้  นักเรียนสามารถ     

อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณที่เป็นความสัมพันธ์เชิงเส้น

ด้านทักษะและกระบวนการ  นักเรียนสามารถ     

1. สื่อสารและสื่อความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณ ด้วยสมการเชิงเส้นสองตัวแปรหรือกราฟเส้นตรง

2. เชื่อมโยงความรู้เรื่องความสัมพันธ์เชิงเส้นไปใช้กับสถานการณ์ในชีวิตจริง

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

8.1.1 ตรวจใบกิจกรรม 11 : ออกแบบเชิงเส้น 

8.1.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

8.2 เครื่องมือ

8.2.1 ตรวจใบกิจกรรม 11 : ออกแบบเชิงเส้น 

8.2.2 แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 เรื่อง คู่กันสัมพันธ์เชิงเส้น
ชั่วโมง คู่กันสัมพันธ์เชิงเส้น
เรื่อง บ่งบอกความสัมพันธ์ (1) 20 ก.พ. 2566 (มีใบกิจกรรม และบัตรภาพ)