สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

-         การกร่อนและการสะสมตัวของตะกอนเกิดขึ้นได้อย่างไร (การกร่อนเกิดจากเศษหิน ดิน แร่หรือตะกอนต่าง ๆ ผุพัง ซึ่งต้องอาศัยตัวนำพาตามธรรมชาติ เช่น น้ำ ลม ธารน้ำแข็ง สิ่งมีชีวิต และอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ เช่น แรงโน้มถ่วง ชนิดของดิน หิน แร่และตะกอนต่าง ๆ ที่ทนทานต่อการกร่อนได้แตกต่างกัน โครงสร้างทางธรณีวิทยา ภูมิประเทศ ปริมาณพืชปกคลุมดิน สภาพอากาศ และระยะเวลา)

-         ภูมิลักษณ์ที่เกิดจากการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอนในธารน้ำมีอะไรบ้าง (ภูมิลักษณ์เช่น กุมภลักษณ์ ออบหรือโกรกธาร แก่ง เนินทราย ทางน้ำโค้งตวัด ทะเลสาบรูปแอก แหล่งตะกอนน้ำพารูปพัด ดินดอนสามเหลี่ยม)

-         กระบวนการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอนในธารน้ำทำให้ผิวโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (ทำให้หินที่พบบนผิวโลกบางบริเวณมีขนาดเล็ก พบหินที่มีลักษณะมนตามริมแม่น้ำ มีภูมิลักษณ์ที่หลากหลายจากการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอน)ยุบ รวมถึงเกิดถ้ำใต้ดิน)

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 6.1 ม.2/9

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายกระบวนการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอนในธารน้ำจากแบบจำลอง

2. ยกตัวอย่างภูมิลักษณ์ที่เกิดจากการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอนที่พบบนผิวโลก

การประเมินผล

       วิธีการประเมิณ

ด้านความรู้

ประเมินจาก

1. การบันทึกผลการอภิปรายเกี่ยวกับการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอน และภูมิลักษณ์ที่เกิดขึ้น ในใบงานที่ 1

2 การบันทึกผลเกี่ยวกับภูมิลักษณ์จากสายน้ำ ในใบงานที่ 3

 

 

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ประเมิน

1. การลงความเห็นจากข้อมูลได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครูได้ว่า การกร่อนเและการสะสมตัวของตะกอนในแม่น้ำทำให้ร่องน้ำมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาดและทิศทางการไหลของน้ำ และทำให้ผิวโลกเกิดภูมิลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย

2. การตีความหมายข้อมูลจากการสังเกต จากการรวบรวมข้อมูล และจากการอภิปราย ได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้นำของครูได้ว่า การกร่อนและการสะสมตัวของตะกอนที่เกิดจากตัวนำพาจากน้ำ ทำให้ร่องน้ำที่เกิดขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาดและทิศทางการไหลของน้ำ ทำให้ผิวโลกเกิดภูมิลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

ประเมินจาก

1. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความรอบคอบ เกี่ยวกับความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือเครื่องมือก่อนและหลังทำกิจกรรม การทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

2. การนำหลักฐานหรือข้อมูลที่ได้จากการสังเกต จากการรวบรวมข้อมูล และจากการอภิปรายมาใช้สนับการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอนและภูมิลักษณ์ที่เกิดจากการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอนจากตัวนำพาและปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติได้

3. การแปลความหมายข้อมูลโดยใช้หลักฐานหรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรม ตามผลการทำกิจกรรมี่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริง อย่างมีเหตุและผล

4. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการทำกิจกรรม การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จตามกำหนดและตรงต่อเวลา อดทนแม้การทำกิจกรรมจะมีปัญหาและใช้เวลา

 

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

ประเมินจาก

1. การจัดการตนเอง โดยทำกิจกรรมและนำเสนอผลการทำกิจกรรมได้เสร็จทันเวลาที่กำหนดไว้

2. การสื่อสาร โดยใช้ภาพ ข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่ออธิบายกระบวนกระบวนการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอน และภูมิลักษณ์ที่เกิดจากการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอนจากตัวนำพาและปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ให้เข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง

3. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยตอบคำถามในใบงาน และการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอน และ    ภูมิลักษณ์ที่เกิดจากการกร่อนและการสะสมตัวของตะกอนจากตัวนำพาและปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ

การวัดผลและประเมินผล

 เครื่องมือ

ใบงาน เรื่อง การผุพังอยู่กับที่ทางเคมีของหิน

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 โลกและการเปลี่ยนแปลง
ชั่วโมง โลกและการเปลี่ยนแปลง
เรื่อง การกร่อนและการสะสมตัวของตะกอน (2) 17 พ.ย. 65 (มีใบงาน ใบความรู้)