สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

            การสร้างชิ้นงานต้องใช้ความรู้และทักษะหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น การเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับประเภทของงาน การใช้ความรู้ด้านกลไก ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของชิ้นงาน โดยหลังจากการสร้างชิ้นงานเสร็จแล้ว ควรมีการทดสอบ และประเมินผลว่าชิ้นงานที่สร้างมานั้นสามารถแก้ปัญหาได้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ หากยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ชิ้นงานนั้นสามารถทำงานได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านทักษะและกระบวนการ

กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (การทดสอบ ประเมิน และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน) : ดำเนินการสร้าง ทดสอบและประเมินผลการทดสอบตามประเด็นที่ตั้งไว้

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. วัดความรู้จากการปฏิบัติและตอบคำถามในใบกิจกรรม

2. วัดทักษะจากการสังเกตระหว่างทำกิจกรรม

3. วัดคุณลักษณะจากการสังเกตพฤติกรรมจากการร่วมทำกิจกรรม การถามตอบ อภิปรายกันภายในกลุ่ม หรือระหว่างกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การแสดงความคิดเห็น วิธีคิด เหตุผลการนำเสนอข้อมูล

4. วัดสมรรถนะ

เครื่องมือ

1. วัดความรู้จากการทำใบกิจกรรม

2. วัดทักษะและกระบวนการทางเทคโนโลยีจากการทำใบกิจกรรมและสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการทำงาน

3. วัดคุณลักษณะจากสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการทำงาน

4. วัดสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนจากสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการทำงาน 

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ การออกแบบและเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สนุกกับการแก้ปัญหา
ชั่วโมง สนุกกับการแก้ปัญหา
เรื่อง ทดสอบและปรับปรุงแก้ไข 1 มี.ค. 66 (มีใบกิจกรรม และใบความรู้)