สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน เรียกว่า สัดส่วน  

เมื่อมีจำนวนที่ไม่ทราบค่าซึ่งแทนด้วยตัวแปรอยู่ในสัดส่วน  เราสามารถหาจำนวนที่แทนตัวแปรดังกล่าวได้ โดยใช้การคูณไขว้และการแก้สมการ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ม.1/3  เข้าใจและประยุกต์ใช้อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้  นักเรียนสามารถ     

1. บอกความหมายของสัดส่วน

2. เขียนสัดส่วนแทนสถานการณ์ปัญหา

3. หาจำนวนที่แทนด้วยตัวแปรในสัดส่วนที่จากสถานการณ์ที่กำหนดให้

ด้านทักษะและกระบวนการ  นักเรียนสามารถ     

1. แก้ปัญหาที่อยู่ในชีวิตจริงโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับสัดส่วน

2. สื่อสารและสื่อความหมายเกี่ยวกับแนวคิดในการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ในชีวิตจริง ด้วยภาษาและสัญลักษณ์เกี่ยวกับอัตราส่วนและสัดส่วน

3. เชื่อมโยงความรู้เรื่องอัตราส่วนของจำนวนสองจำนวนมาใช้ในการศึกษาเรื่องสัดส่วน

4. เชื่อมโยงความรู้เรื่องสัดส่วนไปใช้กับสถานการณ์ในชีวิตจริง

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

8.1.1 ตรวจแบบฝึกหัด 4 : การหาค่าของตัวแปรในสัดส่วน

8.1.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

8.2 เครื่องมือ

8.2.1 แบบฝึกหัด 4 : การหาค่าของตัวแปรในสัดส่วน

8.2.2 แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง พลพรรคอัตราส่วน ชวนสร้างวิถีพอเพียง
ชั่วโมง พลพรรคอัตราส่วน ชวนสร้างวิถีพอเพียง
เรื่อง ข้าวนี้ มีค่า (1) 16 พ.ย. 65 (มีแบบฝึกหัด และบัตรภาพ)