สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ตามธรรมชาติ หินอาจมีรอยแตก มีช่องว่าง และอาจมีน้ำขังอยู่ในรอยแตกในช่องว่าง เมื่อถึงอุณหภูมิของน้ำลดลง เมื่อน้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของเหลวก็จะมีปริมาตรเพิ่มขึ้น เกิดซ้ำกันเป็นเวลานาน ทำให้ช่องว่างในหินมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะเกิดการผุพังแตกออกจากกัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 3.2 ม.2/5

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายกระบวนการผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพของหินจากแบบจำลอง

2. บอกปัจจัยที่ทำให้หินเกิดการผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

ด้านความรู้ 

          ประเมินจาก

1.การบันทึกผลการทำกิจกรรม การตอบคำถามท้ายกิจกรรมเกี่ยวกับกระบวนการผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพของหิน ปัจจัยที่ทำให้หินเกิดการผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพ และผลของการผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพของหินที่ทำให้ผิวโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ในใบงานที่ 1

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          ประเมินจาก

1. การบรรยายรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของน้ำในลูกโป่ง รวมถึงสารผสมน้ำกับปูนปลาสเตอร์ และแก้วน้ำจากชุดการทดลอง จำนวน 2 ชุด โดยไม่เพิ่มเติมความคิดเห็น

2. การลงความเห็นจากข้อมูลด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครูได้ว่า น้ำในลูกโป่งของแก้วน้ำที่นำไปแช่ไว้ในช่องแช่แข็งจะเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งและมีปริมาตรเพิ่มขึ้น และดันปูนปลาสเตอร์ท่ีแข็งให้แตกหลุดและอัดแก้วน้ำแบบกระดาษให้ฉีกขาดออกจากกัน ส่วนน้ำในลูกโป่งของแก้วน้ำที่นำไปวางไว้ที่อุณหภูมิห้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ น้ำยังคงมีสถานะเป็นของเหลว และปูน ปลาสเตอร์ยังคงสภาพเดิมไม่มีการแตกร้าว

3. ตั้งสมมติฐานเพื่อบอกความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิของอากาศและการเปลี่ยนแปลงของน้ำในลูกโป่ง และมีเหตุผลประกอบได้

4. การกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุมให้คงที่ ของการทดลองเรื่องการผุพังอยู่

กับที่ทางกายภาพของหินเกิดขึ้นได้อย่างไร ได้ครบถ้วนและถูกต้อง

 5.การตีความหมายข้อมูลจากการสังเกต จากการรวบรวมข้อมูล จากการอภิปรายและจากการสร้างแบบจำลอง ได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครูได้ว่า การผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพของหินเป็นกระบวนการที่ทำให้หินมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะขนาดและรูปร่าง เป็นการเปลี่ยนแปลงกับที่ทางกายภาพของหินเกิดขึ้นได้อย่างไร ได้ครบถ้วนและถูกต้อง

6. การอธิบายกระบวนการผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพของหิน ปัจจัยที่ทำให้หินเกิดการผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพ และผลของการผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพของหินที่ทำให้ผิวโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยใช้แบบจำลองที่สร้างขึ้นได้ถูกต้องด้วยตนเอง หรือจากการชี้แนะของครู

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

ประเมินจาก

1. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความรอบคอบเกี่ยวกับความละเอียดถี่ถ้วนใน

การทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือเครื่องมือก่อนทำกิจกรรม การทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

2. การนำหลักฐานหรือข้อมูลที่ได้จากการสังเกต จากการรวบรวมข้อมูล จากการอภิปรายและจากการสร้างแบบจำลอง มาใช้สนับสนุนการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพของหิน ปัจจัยที่ทำให้หินเกิดการผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพ และผลของการผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพของหินที่ทำให้ผิวโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง

เครื่องมือ

- ใบกิจกรรมที่ 1 การผุังอยู่กับที่ทางกายภาพของหินเกิดขึ้นได้อย่างไร

- ใบงานที่ 1 การผุังอยู่กับที่ทางกายภาพของหินเกิดขึ้นได้อย่างไร

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 โลกและการเปลี่ยนแปลง
ชั่วโมง โลกและการเปลี่ยนแปลง
เรื่อง โครงสร้างภายในโลก (2) 3 พ.ย. 65 (มีใบงาน ใบความรู้ และใบกิจกรรม)