สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ความสัมพันธ์ที่แสดงการเปรียบเทียบปริมาณสองปริมาณ  ซึ่งอาจมีหน่วยเดียวกันหรือหน่วยต่างกันก็ได้ เรียกว่า อัตราส่วน 

อัตราส่วนของปริมาณ a  ต่อปริมาณ b  จะเขียนแทนด้วย  a : b  อ่านว่า  a ต่อ b   โดยเรียก a ว่าจำนวนแรกหรือจำนวนที่หนึ่งของอัตราส่วน  และเรียก b ว่าจำนวนหลังหรือจำนวนที่สองของอัตราส่วน 

การสลับที่ระหว่างจำนวนแรกกับจำนวนหลังของอัตราส่วน จะทำให้การสื่อความหมายไม่เหมือนเดิม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ม.1/3  เข้าใจและประยุกต์ใช้อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้  นักเรียนสามารถ     

1. บอกความหมายของอัตราส่วนของจำนวนสองจำนวน

2. เขียนอัตราส่วนของจำนวนสองจำนวนแทนการเปรียบเทียบปริมาณสองปริมาณที่กำหนดให้

ด้านทักษะและกระบวนการ  นักเรียนสามารถ     

1.  แก้ปัญหาที่อยู่ในชีวิตจริงโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนของจำนวนสองจำนวน

2.  สื่อสารและสื่อความหมายเกี่ยวกับการเปรียบเทียบปริมาณสองปริมาณจากสถานการณ์ในชีวิตจริง ด้วยภาษาและสัญลักษณ์เกี่ยวกับอัตราส่วนของจำนวนสองจำนวน

3.  เชื่อมโยงความรู้เรื่องอัตราส่วนของจำนวนสองจำนวนไปใช้กับสถานการณ์ในชีวิตจริง

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

8.1.1 ตรวจแบบฝึกหัด 1 : การเขียนอัตราส่วน

8.1.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

8.2 เครื่องมือ

8.2.1 แบบฝึกหัด 1 : การเขียนอัตราส่วน

8.2.2 แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง พลพรรคอัตราส่วน ชวนสร้างวิถีพอเพียง
ชั่วโมง พลพรรคอัตราส่วน ชวนสร้างวิถีพอเพียง
เรื่อง ส่วนผสมลงตัว ชัวร์อร่อย (1) 1 พ.ย. 65 (มีแบบฝึกหัด บัตรภาพ และบัตรคำ)