สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การนำไฟฟ้าของวัสดุ หมายถึง การที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านวัสดุได้ วัสดุแต่ละชนิดนำไฟฟ้าได้ต่างกัน วัสดุที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดีเรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า วัสดุที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ไม่ดีเรียกว่า ฉนวนไฟฟ้า   ซึ่งสามารถนำสมบัติการนำไฟฟ้าของวัสดุไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

2.1 ป.4/1 เปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพด้านความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำความร้อน และการนำไฟฟ้าของวัสดุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากการทดลอง

และระบุการนำสมบัติเรื่อง ความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำความร้อน และการนำไฟฟ้าของวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวันผ่านกระบวนการออกแบบชิ้นงาน

จุดประสงค์

1 สังเกต อธิบาย และเปรียบเทียบการนำไฟฟ้าของวัสดุชนิดต่างๆ

2 อ่านข้อมูลและยกตัวอย่างการนำสมบัติการนำไฟฟ้าของวัสดุไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน       

การวัดผลและประเมินผล

1. ประเมินความรู้เรื่องการนำไฟฟ้าของวัสดุรอบตัวด้วยการตอบคำถามในชั้นเรียนและในใบงาน

2. ประเมินทักษะการสังเกตด้วยแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3. ประเมินการมีความมุ่งมั่นในการทำงานด้วยแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 5 วัสดุและสสาร (Re-run)
ชั่วโมง วัสดุและสสาร (Re-run)
เรื่อง การนำไฟฟ้าของวัสดุรอบตัว (2) (Re-run) 10 มี.ค. 66 (มีใบงาน , ใบความรู้ , ใบกิจกรรม และวีดิทัศน์)