สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

            รูปร่างของดวงจันทร์ที่มองเห็น หรือรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์บนท้องฟ้า จะแตกต่างกันไปในแต่ละวัน โดยในแต่ละวัน ดวงจันทร์จะมีรูปร่างปรากฏเป็นเสี้ยวที่มีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเต็มดวง จากนั้นรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์จะแหว่งและมีขนาดลดลงอย่างต่อเนื่องจนมองไม่เห็นดวงจันทร์

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด ว 3.1 ป.4/1 สร้างแบบจำลองที่อธิบายแบบรูปการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดวงจันทร์และพยากรณ์รูปร่างปรากฏของดวงจันทร์

จุดประสงค์

สังเกตและสร้างแบบจำลองรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์

การวัดผลและประเมินผล

1. ประเมินความรู้เรื่องการขึ้นและตกและรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์ด้วยการตอบคำถามในชั้นเรียนและใบงาน

2. ประเมินทักษะการสังเกตด้วยแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3. ประเมินการมีความมุ่งมั่นในการทำงานด้วยแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

 

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 6 ระบบสุริยะและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
ชั่วโมง หน่วยย่อยที่ 1 ดวงจันทร์ของเรา
เรื่อง การขึ้นและตก และรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์ (3) 3 ก.พ. 66 (มีใบงาน)