สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

เราสามารถเลือกใช้สมบัติทางกายภาพของวัสดุ มาออกแบบชิ้นงานได้ ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติทางกายภาพบางอย่างเหมือนกัน บางอย่างแตกต่างกัน การเลือกและนำวัสดุต่าง ๆ มาใช้งานในชีวิตประจำวันต้องคำนึงถึงสมบัติทางกายภาพของวัสดุและความเหมาะสม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด 2.1 ป.4/1 เปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพด้านความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำความร้อน และการนำไฟฟ้าของวัสดุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากการทดลองและระบุการนำสมบัติ

เรื่อง ความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำความร้อน และการนำไฟฟ้าของวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวันผ่านกระบวนการออกแบบชิ้นงาน

จุดประสงค์

ออกแบบชิ้นงานและระบุการนำสมบัติทางกายภาพของวัสดุไปใช้ประโยชน์ในชิ้นงานที่ออกแบบ

การวัดผลและประเมินผล

1. ประเมินความรู้เรื่องการออกแบบชิ้นงานโดยใช้สมบัติของวัสดุด้วยการตอบคำถามในชั้นเรียนและในใบงาน

2. ประเมินทักษะการสังเกตด้วยแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3. ประเมินการมีความมุ่งมั่นในการทำงานด้วยแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 5 วัสดุและสสาร
ชั่วโมง หน่วยย่อยที่ 1 สมบัติทางกายภาพของวัสดุ
เรื่อง การออกแบบชิ้นงานโดยใช้สมบัติของวัสดุ 29 พ.ย. 65 (มีใบงานและใบกิจกรรม)