สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

สภาพยืดหยุ่น จะเปลี่ยนแปลงรูปร่าง หรือขนาดเมื่อมีแรงมากระทำ และกลับสู่สภาพเดิมได้เมื่อหยุดออกแรง สามารถทดสอบได้โดย ออกแรงกระทำกับวัสดุ แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง เมื่อวัสดุได้รับแรงกระทำและหยุดออกแรง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด 2.1 ป.4/1 เปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพด้านความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำความร้อน และการนำไฟฟ้าของวัสดุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากการทดลอง

และระบุการนำสมบัติเรื่องความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำความร้อน และการนำไฟฟ้าของวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวันผ่านกระบวนการออกแบบชิ้นงาน            

จุดประสงค์

ทดลอง อธิบาย และเปรียบเทียบสภาพยืดหยุ่นของวัสดุชนิดต่างๆ

การวัดผลและประเมินผล

1. ประเมินความรู้เรื่องสภาพยืดหยุ่นของวัสดุรอบตัวด้วยการตอบคำถามในชั้นเรียนและในใบงาน

2. ประเมินทักษะการสังเกตด้วยแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3. ประเมินการมีความมุ่งมั่นในการทำงานด้วยแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

 

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 5 วัสดุและสสาร
ชั่วโมง หน่วยย่อยที่ 1 สมบัติทางกายภาพของวัสดุ
เรื่อง สภาพยืดหยุ่นของวัสดุรอบตัว (1) 8 พ.ย. 65 (มีใบงาน และใบกิจกรรม)