สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

        หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงความเชื่อของชาวสุโขทัยในระยะเริ่มแรก คือ จารึกหลักที่ 1 และจารึกปู่ขุนจิดขุนจอด - จารึกคำปู่สบถหลาน พบว่ามีความเชื่อเรื่อง “ผี” เป็นความเชื่อดั้งเดิมก่อนการรับศาสนาอื่นๆ เข้ามา โดยเฉพาะพระขพุงผีและผีบรรพบุรุษ ซึ่งมีความเชื่อว่าผีเหล่านี้ให้คุณให้โทษแก่คนทั้งเมืองก็ได้ ต่อมาชาวสุโขทัยได้มีการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งได้รับวัฒนธรรมจากเขมรโบราณ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ที่ศาลตาผาแดง เทวลัยมหาเกษตร เป็นต้น ศาสนาที่เข้ามามีอิทธิพลต่อชาวสุโขทัยต่อมาคือศาสนาพุทธ นับถือทั้งสามความเชื่อผสานกัน นักวิชาการเรียกว่า “พลังคน - อำนาจผี - บารมีพระ”

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด  มฐ ส4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

ตัวชี้วัด  ป.4/1      อธิบายพัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยโดยสังเขป

ตัวชี้วัด  ป.4/3      อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญสมัยสุโขทัยที่น่าภาคภูมิใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์

จุดประสงค์

1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

          - อธิบายลักษณะความเชื่อและศาสนาของอาณาจักรสุโขทัยได้ 

2 ด้านทักษะ กระบวนการ (P)

          - วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะการเลือกรับนับถือศาสนาได้ 

3 ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

          - เห็นความสำคัญในความเชื่อและศาสนาที่ส่งผลต่อคนไทยในปัจจุบัน

การวัดผลและประเมินผล

1 ใบงานที่ 4 เรื่อง ความเชื่อและศรัทธา

2 การถาม-ตอบ

3 การเล่นเกม

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ ประวัติศาสตร์
หน่วย หน่วยที่ 4 พระมหากษัตริย์และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย
ชั่วโมง พระมหากษัตริย์และภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย
เรื่อง ความเชื่อและศรัทธา (พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) 18 ม.ค. 66 (มีใบงาน)