สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ภาษาไทยมาตรฐาน คือ ภาษาที่คนภาคกลางหรือคนในกรุงเทพมหานครใช้สื่อสารกัน โดยให้ยึดเป็นภาษาไทยมาตรฐาน ส่วนภาษาถิ่นในประเทศไทยสามารถแบ่งได้ทั้งหมด ๔ ภาค คือ ภาษาถิ่นเหนือ ภาษาถิ่นกลาง ภาษาถิ่นอีสาน และภาษาถิ่นใต้ ซึ่งนักเรียนจะต้องเปรียบเทียบและยกตัวอย่างภาษาถิ่นให้มีความหมายที่ตรงกัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด     ท ๔.๑ ป.๕/๓ เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่น

    ๗.๒ จุดประสงค์

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)                                                                                                        

๑. บอกลักษณะของภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นได้

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)                                                                                                           

๒. วิเคราะห์คำภาษาถิ่นจากวรรณกรรมท้องถิ่นได้

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)                                                                                                   

๓. เห็นคุณค่าของภาษาถิ่น

การวัดผลและประเมินผล

๑ ประเมินการเปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่น

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 13 ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
ชั่วโมง ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
เรื่อง ภาษาไทยถิ่นในวรรณกรรมท้องถิ่น 16 ก.พ. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)