สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

           มรสุมจะส่งผลต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิของอากาศของประเทศไทย และมีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ เช่น การออกดอกและติดผลของพืชบางชนิด การมีฝนตกหนักทำให้มีน้ำเติมเข้าไปในแหล่งกักเก็บน้ำ หรืออาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก การกัดเซาะชายฝั่ง

          มรสุมมีการเกิดเหมือนกับลมบก ลมทะเล ซึ่งเกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำ แต่มรสุมมีขนาดของบริเวณที่เกิดและช่วงระยะเวลาการเกิดแตกต่างจากลมบก ลมทะเล ซึ่งมรสุมเกิดบริเวณเขตร้อนของโลก การเกิดมรสุมในแต่ละครั้ง เกิดในช่วงระยะเวลานานต่อเนื่องหลายเดือน ส่วนลมบก ลมทะเล เกิดบริเวณชายฝั่งและเกิดในช่วงเวลา 1 วัน คือช่วงเวลากลางวันและกลางคืน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 3.2 ป.6/4  เปรียบเทียบการเกิดลมบก ลมทะเล และมรสุม รวมทั้งอธิบายผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมจากแบบจำลอง

จุดประสงค์

เปรียบเทียบการเกิดลมบก ลมทะเล และมรสุมจากแบบจำลอง

การวัดผลและประเมินผล

1. การตอบคำถามในใบงาน

2. สังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการทำกิจกรรม

3. สังเกตพฤติกรรมด้านคุณธรรมขณะทำกิจกรรม

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 4 ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ
ชั่วโมง ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ
เรื่อง การเกิดมรสุม (3) 17 พ.ย. 65 (มีใบงาน)