สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การอ่านออกเสียงร้อยกรอง เป็นการอ่านที่มุ่งให้เกิดความเพลิดเพลินซาบซึ้งในรสของคำประพันธ์     ซึ่งจะต้องอ่านอย่างมีจังหวะ ลีลา และท่วงทำนองตามลักษณะคำประพันธ์เเต่ละชนิด การอ่านบทร้อยกรอง    อ่านได้ 2 แบบ ดังนี้

          1. อ่านออกเสียงธรรมดา เป็นการอ่านออกเสียงพูด ตามปกติเหมือนกับอ่านร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอน

          2. อ่านเป็นทำนองเสนาะ เป็นการอ่านมีสำเนียงสูง ต่ำ หนัก เบา ยาว สั้นเป็นทำนองเหมือนเสียงดนตรี มีการเอื้อนเสียง เน้นสัมผัส ตามจังหวะ ลีลาและท่วงทำนองตามลักษณะบังคับของ

              บทประพันธ์ให้ชัดเจน      และเหมาะสม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ป.2/3   ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

    1) บอกลักษณะของกลอนสักวาได้

    2) ท่องจำบทสักวาได้

2 ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

      - อ่านบทสักวาดาวจระเข้ก็เหหกได้ถูกต้อง

3 ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

     - เห็นคุณค่าของบทร้อยกรองแต่ละประเภท

การวัดผลและประเมินผล

- ใบงานที่ 2 เติมบทสักวา

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 18 อาขยาน ขานไข
ชั่วโมง อาขยาน ขานไข
เรื่อง สักวาดาวจระเข้ก็เหหก 14 ก.พ. 66 (มีใบงาน)