สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

วงดนตรีพื้นเมือง คือ วงดนตรีที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในภูมิภาคต่าง ๆ ที่นอกเหนือไปจากวงดนตรีแบบแผน (วงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี) ที่ถูกใช้อย่างมากในภาคกลาง ดังที่ได้อธิบายในชั่วโมงก่อนหน้านี้ไปแล้ว ในวันนี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้วงดนตรีในภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ลักษณะของดนตรีพื้นเมืองนั้น เป็นดนตรีที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้าน มุ่งสื่อเรื่องราวจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใกล้ตัว มีการปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน มีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนทั้งด้านทํานองเพลง จังหวะ ภาษา เนื้อร้อง และวิธีการบรรเลง โดยใช้ ฉันทลักษณ์ที่ไม่ซับซ้อน ไม่เคร่งครัดเรื่องสัมผัสนอก สัมผัสใน ทํานองและเนื้อร้องไม่คงที่ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของศิลปินเป็นสมบัติของชุมชน คนในชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ทั้งเพื่อความบันเทิงหรือเพื่อร่วม กิจกรรมที่เป็นพิธีกรรมตามความเชื่อ ไม่มีการจดบันทึก แต่จะสืบทอดกันทางมุขปาฐะ (เน้นการจําและปฏิบัติตาม) รูปแบบของเครื่องดนตรีและวงดนตรี มีบทบาทในการบรรเลงเดี่ยวเฉพาะศิลปิน หรือบรรเลงเป็นวง มีการขับร้องร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้  โดยในแต่ละภูมิภาคนั้น จะมีวงดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาค

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

นักเรียนสามารถบอกลักษณะเด่น และจำแนกวงดนตรีพื้นเมืองในแต่ละภูมิภาคได้ถูกต้อง

ด้านทักษะและกระบวนการ

-

ด้านคุณลักษณะ

1. นักเรียนรักความเป็นไทย

2. นักเรียนมีวินัย

3. นักเรียนใฝ่เรียนรู้

การวัดผลและประเมินผล

1 วิธีการ

ตอบคำถาม/เขียนสรุปความรู้ถูกต้องร้อยละ 60 ขึ้นไป       

2 เครื่องมือ

ข้อคำถาม/ ใบงาน

ปีการศึกษา 2565 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ดนตรี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 รู้จักวงดนตรีในวัฒนธรรมไทย
ชั่วโมง รู้จักวงดนตรีในวัฒนธรรมไทย
เรื่อง วงดนตรีพื้นเมือง 17 มิ.ย. 65 (มีใบงานและใบความรู้)