สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

อักษรสูง คือ พยัญชนะที่มีระดับเสียงสูง มี ๑๑ ตัว ได้แก่ ข  ฃ  ฉ  ฐ  ถ  ผ  ฝ  ศ  ษ  ส  ห

การอ่านและเขียนผันวรรณยุกต์พยัญชนะอักษรสูง คำที่มีอักษรสูงเป็นอักษรตัวแรกจะผันวรรณยุกต์ได้ ๓ เสียง คือ เอก โท และจัตวา

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)                                                                     

                   - บอกการอ่านผันวรรณยุกต์พยัญชนะอักษรสูงได้    

 ด้านทักษะกระบวนการ (P)                                                                     

                    ๑) อ่านและเขียนผันวรรณยุกต์พยัญชนะอักษรสูงได้

                     ๒) เขียนคำที่มีอักษรสูงได้

 ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)                                                            

                   - มีมารยาทในการเขียน  

การวัดผลและประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด / ประเมิน

วิธีการ

เครื่องมือที่ใช้

เกณฑ์

ด้านความรู้ความเข้าใจ (K)

 - บอกการอ่านผันวรรณยุกต์พยัญชนะอักษรสูง        

 

-การถามตอบ

-การสังเกตพฤติกรรม

 

-แบบสังเกตพฤติกรรม

 

ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ร้อยละ 60

ด้านทักษะกระบวนการ (P)

๑.อ่านและเขียนผันวรรณยุกต์พยัญชนะอักษรสูง

๒. เขียนคำที่มีอักษรสูง

 

 

- การทำใบงานที่ ๕  เรื่อง

ระบายสีภาพและเขียนคำที่มีพยัญชนะอักษรสูง

 

 

-แบบประเมินใบงานที่  ๕เรื่อง ระบายสีภาพและเขียนคำที่มีพยัญชนะอักษรสูง

 

ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม(A)

 -มีมารยาทในการเขียน

 

 

- สังเกตพฤติกรรม

 

 

- แบบสังเกตพฤติกรรม

 

ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

๑.ใฝ่เรียนรู้

๒.มุ่งมั่นในการทำงาน

 

-การสังเกตพฤติกรรม

 

-แบบสังเกตพฤติกรรม

 

เกณฑ์การประเมิน

ระดับคุณภาพ ผ่าน

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน๑.ความสามารถในการสื่อสาร
๒. ความสามารถในการคิด

 

 

๑.การประเมินความสามารถในการสื่อสาร

๒.การประเมินความสามารถในการคิด

 

๑.แบบประเมินความสามารถใน

การสื่อสาร

๒.แบบประเมินความสามารถในการคิด

 

เกณฑ์การประเมิน

ระดับคุณภาพ ผ่าน

ปีการศึกษา 2565 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๒ อ่านเขียนเรียนภาษา
ชั่วโมง อ่านเขียนเรียนภาษา
เรื่อง เสริมสร้างอักษรสูง (1) 7 มิ.ย. 65 (มีใบงาน ใบความรู้)