สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

- รูปเรขาคณิตสองรูปเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ เคลื่อนที่รูปหนึ่งไปทับอีกรูปหนึ่งได้สนิท

- ส่วนของเส้นตรงสองเส้นเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ ส่วนของเส้นตรงทั้งเส้นนั้นยาวเท่ากัน

- มุมสองมุมเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ มุมทั้งสองนั้นมีขนาดเท่ากัน

- รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ ด้านคู่ที่สมนัยกันและมุมคู่ที่สมนัยกันของรูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปนั้น มีขนาดเท่ากันเป็นคู่ ๆ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่าง

รูปเรขาคณิตและทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้

ตัวชี้วัด ม.2/4   เข้าใจและใช้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการในการแก้ปัญหา

คณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

จุดประสงค์

          นักเรียนสามารถ  1. บอกได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ

                                   2. บอกด้านคู่ที่ยาวเท่ากันและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูป

 ที่เท่ากันทุกประการได้

การวัดผลและประเมินผล

1 วิธีการ

                   1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

                   2. ตรวจใบงานที่ 3 เรื่อง ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม

                   3. นักเรียนประเมินตนเอง

2 เครื่องมือ

                   1. แบบบันทึกการตรวจใบงานที่ 3 เรื่อง ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม                         

                   2. ใบงานที่ 3 เรื่อง ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม

3 เกณฑ์

                   1. ผลงานมีความถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%

                   2. นักเรียนมีคุณภาพในระดับ 2 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย รายวิชา คณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ (Rerun)
ชั่วโมง ความเท่ากันทุกประการ
เรื่อง ความเท่ากันทุกประการของ รูปสามเหลี่ยม 23 ก.พ. 65