สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

       โดยทั่วไปนักวิทยาศาสตร์แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความสูง ซึ่งแบ่งได้เป็น ชั้นโทรโพสเฟียร์ ชั้นสตราโตสเฟียร์ ชั้นมีโซสเฟียร์ ชั้นเทอร์โมสเฟียร์ และชั้นเอกโซสเฟียร์ ซึ่งชั้นบรรยากาศของโลกมีปรากฏการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง เช่น ตรวจพบปริมาณของไอน้ำจำนวนมาก ซึ่งก่อตัวเกิดเป็นเมฆ ฝน พายุฟ้าคะนอง เกิดการลุกไหม้ของวัตถุนอกโลกที่ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลก ตรวจพบโอโซนปริมาณมากในชั้นสตราโตสเฟียร์ เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้ขึ้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายองค์ประกอบชั้นบรรยากาศได้

การวัดผลและประเมินผล

1. ประเมินสังเกตพฤติกรรม

2. การตอบคำถามในชั้นเรียน

3. การทำกิจกรรมในชั้นเรียน

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย รายวิชา วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ลม ฟ้า อากาศรอบตัว (Re-run)
ชั่วโมง การสร้างแบบจำลองชั้นบรรยากาศ (2)
เรื่อง การสร้างแบบจำลองชั้นบรรยากาศ (2) 16 มี.ค. 65 (มีใบกิจกรรม)