สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

     - การเท่ากันทุกประการ ที่มีความสัมพันธ์กันแบบต่าง ๆ (สัมพันธ์กันแบบ ด้าน – มุม – ด้าน, สัมพันธ์กันแบบ มุม – ด้าน – มุม, สัมพันธ์กันแบบ ด้าน – ด้าน – ด้าน, สัมพันธ์กันแบบ  มุม – มุม – ด้าน และ สัมพันธ์กันแบบ ฉาก – ด้าน – ด้าน)
     - สามเหลี่ยมหน้าจั่ว และสมบัติของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

นักเรียนสามารถ

                   - ใช้สมบัติของการเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาได้
                   - ใช้สมบัติของสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาได้

การวัดผลและประเมินผล

1 วิธีการ

                   1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

                   2. ตรวจใบงานที่ 14

                  3. นักเรียนประเมินตนเอง

2 เครื่องมือ

                   1. แบบบันทึกการตรวจใบงานที่ 14

                   2. ใบงานที่ 13.2

3 เกณฑ์

                   1. ผลงานมีความถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%

                   2. นักเรียนมีคุณภาพในระดับ 2 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย รายวิชา คณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ (Rerun)
ชั่วโมง ความเท่ากันทุกประการ
เรื่อง การนำไปใช้ (2) 16 มี.ค. 65 (มีใบงาน)