สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. การแยกตัวประกอบของพหุนาม คือ การเขียนพหุนามนั้นในรูปการคูณกันของพหุนามที่มีดีกรีต่ำกว่าพหุนามเดิมตั้ง แต่สองพหุนามขึ้นไป

2. เราสามารถใช้สมบัติการแจกแจงในการแยกตัวประกอบ โดยการหาตัวประกอบร่วมของพหุนาม

3. ในการแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีหลายพจน์ อาจต้องใช้สมบัติการแจกแจง สมบัติการสลับที่และสมบัติการเปลี่ยนหมู่ในการแก้ปัญหา

3. ในการแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีหลายพจน์ อาจต้องใช้สมบัติการแจกแจง สมบัติการสลับที่และสมบัติการเปลี่ยนหมู่ในการแก้ปัญหา

4. พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่เขียนในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นค่าคงตัว  และ  a ≠ 0 มี x เป็นตัวแปร

5. ในกรณีที่ c = 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวอยู่ในรูป ax2 + bx ซึ่งจะสามารถใช้สมบัติการแจกแจงแยกตัวประกอบของพหุนามได้

6. ในกรณีที่ c ≠ 0 เพื่อความสะดวกในการแยกตัวประกอบของพหุนาม ax2 + bx + c จะเรียก ax2 ว่า พจน์หน้า เรียก bx ว่า พจน์กลาง เรียก c ว่า พจน์หลัง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

นักเรียนสามารถอธิบายการแยกตัวประกอบของพหุนามในรูป  ax2 + bx + c เมื่อ a = 1  b และ c เป็นจำนวนเต็ม และ c  0 ได้อย่างถูกต้อง

การวัดผลและประเมินผล

1 วิธีการ

                   1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

                   2. ตรวจใบงานที่ 4 เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว (2)

                   3. นักเรียนประเมินตนเอง

2 เครื่องมือ

                   1. แบบบันทึกการตรวจใบงานที่ 4

      2. ใบงานที่ 4 เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว (2)

3 เกณฑ์

                   1. ผลงานมีความถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%

                   2. นักเรียนมีคุณภาพในระดับ 2 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย รายวิชา คณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสอง
ชั่วโมง การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสอง
เรื่อง การแยกตัวประกอบของ พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว (2) 2 ก.พ. 65 (มีใบงาน)