สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ประโยคที่มีคำเชื่อมว่า ถ้า... แล้ว... เราจะเรียกประโยคนั้นว่า ประโยคเงื่อนไข โดยประโยคหลังคำว่า “ถ้า” เป็นเหตุ และประโยคหลังคำว่า “แล้ว” เป็นผล

การเขียนประโยคเงื่อนไขโดยนำผลของประโยคมาเขียนเป็นเหตุ และนำเหตุของประโยคมาเขียนเป็นผล เพื่อทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น จึงกำหนดให้ P เป็นเหตุ และ Q เป็นผล ดังนั้น จากประโยคเงื่อนไข “ถ้า P แล้ว Q” ถ้าสลับที่ P และ Q จะได้ว่า “ถ้า Q แล้ว P”  เราจะเรียกประโยค “ถ้า Q แล้ว P” ว่า บทกลับของประโยคเงื่อนไข ของ “ถ้า P แล้ว Q”

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

นักเรียนสามารถสามารถเขียนประโยคเงื่อนไขและบทกลับของประโยคเงื่อนไขได้

การวัดผลและประเมินผล

1 วิธีการ

                   1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

                   2. ตรวจใบงานที่ 1 เรื่อง ประโยคเงื่อนไขและบทกลับประโยคเงื่อนไข

                   3. นักเรียนประเมินตนเอง

2 เครื่องมือ

                   1. แบบบันทึกการตรวจใบงานที่ 1 เรื่อง ประโยคเงื่อนไขและบทกลับประโยคเงื่อนไข

     2. ใบงานที่ 1 เรื่อง ประโยคเงื่อนไขและบทกลับประโยคเงื่อนไข

3 เกณฑ์

                   1. ผลงานมีความถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%

                   2. นักเรียนมีคุณภาพในระดับ 2 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย รายวิชา คณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การให้เหตุผลทางเรขาคณิต
ชั่วโมง การให้เหตุผลทางเรขาคณิต
เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางเรขาคณิต 10 ม.ค. 65