สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ฮิสโทแกรม (Histogram) เกิดจากรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากวางเรียงติดต่อกัน โดยมีความกว้างของแต่ละรูปเท่ากับความกว้างของอันตรภาคชั้น และความยาวของแต่ละแท่งเท่ากับความถี่ของแต่ละอันตรภาคชั้น จำนวนรูปสี่เหลี่ยมเท่ากับจำนวนอันตรภาคชั้น จุดบนแกนนอนจะกำหนดด้วย ขอบล่าง–ขอบบนของอันตรภาคชั้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา

ตัวชี้วัด ม.2/1    เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพจุด แผนภาพต้น–ใบ ฮิสโทแกรม และค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริงโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

จุดประสงค์

นักเรียนสามารถสร้าง อ่าน แปลความหมายของข้อมูลที่เขียนในรูปฮิสโทแกรมได้

การวัดผลและประเมินผล

1 วิธีการ

                   1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

                   2. ตรวจใบงานที่ 3 เรื่อง ฮิสโทแกรม (1)

                   3. นักเรียนประเมินตนเอง

2 เครื่องมือ

                   1. แบบบันทึกการตรวจใบงานที่ 3 เรื่อง ฮิสโทแกรม (1)

                   2. ใบงานที่ 3 เรื่อง ฮิสโทแกรม (1)

3 เกณฑ์

                   1. ผลงานมีความถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย รายวิชา คณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สถิติ
ชั่วโมง สถิติ
เรื่อง ฮิสโทแกรม 3 พ.ย. 64 (มีใบงาน)