สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

           การพยากรณ์อากาศเป็นการคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศในอนาคต ดังนั้นคำพยากรณ์ที่แม่นยำจำเป็นต้องมีข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศที่เพียงพอ นอกจากนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศและสร้างคำพยากรณ์โดยใช้ข้อมูลและความรู้ความเข้าใจเหล่านั้น โดยทั่วไปการพยากรณ์อากาศ ประกอบด้วย  3  ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่

1. การตรวจสอบอากาศเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศปัจจุบัน โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น      เทอร์มอมิเตอร์ ศรลม ดาวเทียม และเรดาร์ตรวจอากาศ

2. การสื่อสารเพื่อรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการตรวจอากาศที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

3. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศและสร้างคำพยากรณ์อากาศ โดยนำข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศมาจัดกระทำในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผนภูมิทางอุตุนิยมวิทยา แผนที่อากาศ ฯลฯ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลและคาดหมายการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศโดยใช้วิธีการพยากรณ์อากาศแบบต่าง ๆ และเผยแพร่คำพยากรณ์ในช่องทางต่าง ๆ ต่อไป

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกความหมายและความสำคัญของการพยากรณ์อากาศได้ 

2. แปลความหมายข้อมูลที่เกี่ยวกับอุณหภูมิอากาศ  ความดันอากาศ  ความชื้นสัมพัทธ์  ลม  เมฆ  และฝน จากคำพยากรณ์อากาศได้

การวัดผลและประเมินผล

1. ประเมินสังเกตพฤติกรรม

2. การตอบคำถามในชั้นเรียน

3. การทำกิจกรรมกลุ่ม

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย รายวิชา วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ
ชั่วโมง การพยากรณ์อากาศ
เรื่อง การพยากรณ์อากาศ (2) 2 ก.พ. 65 (มีสื่อวิดีโอ)