สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

       พายุฝนฟ้าคะนอง (thunderstorms) เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เฉพาะถิ่น ครอบคลุมพื้นที่ไม่กว้าง ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและทรัพย์สิน เช่น ลมแรงพัดบ้านเรือนเสียหาย ต้นไม้และเสาไฟฟ้าหักโค่น ฟ้าผ่าคนและสัตว์ น้ำท่วมฉับพลัน  ส่วนพายุหมุนเขตร้อน (tropical cyclone) เกิดขึ้นโดยมีระยะเวลาตั้งแต่ก่อตัวจนกระทั่งสลายตัวประมาณไม่เกิน 7 วัน เมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่แผ่นดินจะส่งผลกระทบเป็นบริเวณกว้างหลายร้อยตารางกิโลเมตรเป็นระยะเวลานานหลายวัน ความเสียหายขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพายุ โดยบริเวณศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านจะได้รับความเสียหายมากที่สุด

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. วิเคราะห์และอภิปรายผลจากฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อนที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

2. เสนอแนวทางการปฏิบัติตนให้เหมาะสมและปลอดภัยเมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน

การวัดผลและประเมินผล

1. ประเมินสังเกตพฤติกรรม

2. การตอบคำถามในชั้นเรียน

3. การทำกิจกรรมกลุ่ม

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย รายวิชา วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ
ชั่วโมง ผลจากพายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน
เรื่อง ผลจากพายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน 27 ม.ค. 65