สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

          พายุฝนฟ้าคะนอง (thunderstorms) เกิดจากอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้น้ำระเหยเพิ่มขึ้นและลอยสูงขึ้น ไอน้ำในอากาศเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำเกิดเป็นเมฆขนาดใหญ่จากนั้นจะเกิดฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าหรืออาจเกิดลูกเห็บตก

          พายุหมุนเขตร้อน (tropical cyclone) เกิดจากอุณหภูมิเหนือน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดไอน้ำในปริมาณมากและเคลื่อนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้อากาศบริเวณรอบ ๆ เคลื่อนเข้ามาแทนที่ จึงเห็นเป็นเกลียวขนาดใหญ่

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

2. เปรียบเทียบกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน

การวัดผลและประเมินผล

1. ประเมินสังเกตพฤติกรรม

2. การตอบคำถามในชั้นเรียน

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย รายวิชา วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ
ชั่วโมง พายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน
เรื่อง พายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน (2) 26 ม.ค. 65 (มีใบกิจกรรม)