สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

        การถ่ายโอนความร้อน ระหว่างสสาร จะเกิดจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยการถ่ายโอนความร้อนมี 3 วิธีคือ

  1. การนำความร้อน (Conduction) คือ การถ่ายโอนพลังงานความร้อนที่เกิดกับตัวกลางที่เป็นของแข็ง ซึ่งโมเลกุลของตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่ แต่อาศัยการสั่นสะเทือนในการส่งต่อพลังงานความร้อน
  2. การพาความร้อน (Convection) คือ การถ่ายโอนพลังงานความร้อนที่เกิดกับตัวกลางที่เป็นของเหลวหรือแก๊ส ซึ่งโมเลกุลของตัวกลางมีการเคลื่อนที่จากจุดที่อุณหภูมิสูงไปสู่อุณหภูมิต่ำกว่า
  3. การแผ่รังสีความร้อน (Radiation) คือ การถ่ายโอนพลังงานความร้อนโดยไม่อาศัยตัวกลางเป็นการโอนในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

       การถ่ายโอนความร้อนเกิดได้ทั้งอาศัยตัวกลางและไม่อาศัยตัวกลางมนุษย์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อนในด้านต่างๆเช่นการเลือกวัสดุสำหรับเป็นตัวนำความร้อนการออกแบบระบบระบายอากาศในอาคาร

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความหมายการถ่ายโอนความร้อนได้

2. อธิบายการนำความรู้ เรื่องการถ่ายโอนความร้อนไปใช้ประโยชน์

การวัดผลและประเมินผล

1. แบบสังเกต/แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2. แบบประเมิน Rubric scoring

3. แบบสอบถาม

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย รายวิชา วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การถ่ายโอนความร้อนและสมดุลความร้อน
ชั่วโมง การถ่ายโอนความร้อน
เรื่อง การถ่ายโอนความร้อน (2) 2 ธ.ค. 64 (มีใบกิจกรรม)