การจะเป็นคนที่มีคุณภาพ ไม่ใช่เป็นเพียงแต่มีคุณสมบัติคนดีหรือคนเก่ง หากแต่ต้องเป็น “คนเก่งและดี” จึงถือเป็น “คนที่มีคุณภาพ” ที่สังคมในปัจจุบันต้องการ เพราะนอกเหนือจากความเก่ง หรือความสามารถในการทำงานแล้วนั้น จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติของคนดีร่วมด้วย เพราะต้องมีจิตสำนึกความ รู้สึกผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ ไม่คอร์รัปชัน ไม่ใช้อำนาจหน้าที่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่หลอกลวงผู้อื่นเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ฯลฯ อันเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
7.1 ตัวชี้วัด
ส 2.1 ม.1/2 ระบุความสามารถของตนเองในการทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
นักเรียนสามารถยกตัวอย่างคุณสมบัติของคนคุณภาพได้
ด้านทักษะกระบวนการ
นักเรียนสามารถวิเคราะห์คุณสมบัติของคนมีคุณภาพเพื่อปรับให้เข้ากับตนเองได้
ด้านคุณลักษณะ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน
3. ซื่อสัตย์สุจริต
คุณลักษณะเฉพาะ
เห็นความสำคัญของคุณสมบัติของคนมีคุณภาพเพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการคิด
2. ความสามารถในการสื่อสาร
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
8. วิธีการวัด/ประเมินผล
8.1 การตอบคำถาม
8.2 การตรวจผลงาน
9. เครื่องมือวัด/ประเมินผล
9.1 คำถามนำ
9.2 แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 46
9.3 เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (Rubric)