การเรียนรู้การปฏิบัติตนของศาสนาต่าง ๆ เปรียบเสมือนได้เรียนรู้ “ความเป็นมนุษย์” เพราะทุกคนในสังคมล้วนมีความเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น คือมีเสรีภาพทางความคิดภายใต้กรอบของกฎหมายและการกระทำที่แตกต่างกัน (เพราะทุกคนมีความแตกต่างกัน) เราจึงต้องเรียนรู้ความแตกต่าง โดยเฉพาะเรื่องความเชื่อและศาสนา จึงจะได้เข้าใจและสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยปราศจากอคติและไม่เกิดความขัดแย้ง
7.1 ตัวชี้วัด
ส 1.1 ม.1/9 วิเคราะห์เหตุผล ความจำเป็นที่ทุกคนต้องศึกษาเรียนรู้ศาสนาอื่น ๆ
7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
1. นักเรียนเข้าใจความแตกต่างของแต่ละศาสนา
2. นักเรียนอธิบายความสำคัญของศาสนาที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของตนเองได้
3. นักเรียนเข้าใจเหตุผลที่ต้องเรียนศาสนาอื่น
ด้านทักษะกระบวนการ
1. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ศาสนาที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตได้
2. นักเรียนสามารถใช้ทักษะการสื่อสารได้
ด้านคุณลักษณะ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน
คุณลักษณะเฉพาะ
นักเรียนสามารถดำรงอยู่ในสังคมที่มีความแตกต่างทางความเชื่อในศาสนาได้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการคิด
2. ความสามารถในการสื่อสาร
8. วิธีการวัด/ประเมินผล
8.1 การตอบคำถาม
8.2 การตรวจผลงาน
9. เครื่องมือวัด/ประเมินผล
9.1 คำถามนำ
9.2 แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 21
9.3 เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (Rubric)