สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  สังคมไทยถือได้ว่าเป็นสังคมที่ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาต่าง ๆ ทำให้การเรียนรู้ในศาสนาอื่น ๆ จึงมีความสำคัญ เพื่อให้เข้าใจวิถีชีวิต หรือหลักปฏิบัติของความแตกต่างในแต่ละศาสนา อันนำไปสู่การปฏิบัติตนต่อผู้อื่น หรือศาสนิกชนในศาสนาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ส 1.1 ม.1/10 ปฏิบัติตนต่อศาสนิกชนอื่นในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของหลักปฏิบัติตนในศาสนาต่าง ๆ ได้

ด้านทักษะกระบวนการ

วิเคราะห์หลักปฏิบัติตนที่เหมาะสมในศาสนาต่าง ๆ ได้
ด้านคุณลักษณะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

3. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

คุณลักษณะเฉพาะ

1. เห็นความสำคัญในความหลากหลายของการนับถือศาสนาต่าง ๆ

2. เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ความแตกต่างของหลักปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในศาสนาต่าง ๆ

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการคิด

2. ความสามารถในการสื่อสาร

3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

การวัดผลและประเมินผล

8. วิธีการวัด/ประเมินผล

8.1 การตอบคำถาม

8.2 การตรวจผลงาน

9. เครื่องมือวัด/ประเมินผล

9.1 คำถามนำ

9.2 แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

9.3 เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (Rubric)

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย สภาจำลองผ่านมุมมองในห้องเรียน
ชั่วโมง สภาจำลองผ่านมุมมองในห้องเรียน
เรื่อง การปฏิบัติตนต่อศาสนิกชนอย่างเหมาะสม 1 พ.ย. 67 (มีใบความรู้ และใบกิจกรรม)