สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 ศึกษาภาษาที่ใช้ในการเขียนเรียงความ ต้องใช้ภาษาให้ถูกหลักภาษา ถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคล หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาพูดและศัพท์สแลง ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์ยากที่ไม่จำเป็น ผูกประโยคให้กระชับ รู้จักการแบ่งวรรคตอนและใช้เครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้อง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 มาตรฐานการเรียนรู้

ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง มีประสิทธิภาพ            

ตัวชี้วัด

ท 2.1 ม. 1/2 เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำถูกต้องชัดเจน เหมาะสม และสละสลวย 

ท 2.1 ม. 1/4 เขียนเรียงความ

ท 2.1 ม. 1/9 มีมารยาทในการเขียน

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

นักเรียนสามารถอธิบายภาษาที่ใช้ในการพรรณนาความรู้สึกได้

ด้านทักษะกระบวนการ

นักเรียนสามารถเขียนเรียงความโดยใช้ภาษาได้ชัดเจน และสละสลวย

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

นักเรียนมีมารยาทในการเขียน

การวัดผลและประเมินผล

8.2 เครื่องมือ

1. ใบงานเรื่อง การเขียนเรียงความ (ฉบับร่าง)

2. แบบประเมินพฤติกรรมการตอบคำถาม

3. แบบประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

                     

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง สรรพปัญญาล้ำฝีมือ
ชั่วโมง สรรพปัญญาล้ำฝีมือ
เรื่อง สืบสานพรรณนา (3) 6 มี.ค. 68 (มีใบงาน และใบความรู้)