สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 ภาษาพูดและภาษาเขียน เป็นสิ่งที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ในการใช้ต้องเลือกใช้ตามสถานการณ์  และบริบท ภาษาพูดเป็นการใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการ ไม่เคร่งครัดด้านกฎเกณฑ์ ส่วนภาษาเขียนเป็นภาษาทางการต้องใช้ให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ การศึกษาในเรื่องภาษาพูดและภาษาเขียน ช่วยให้สามารถใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม          

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ท 4.1   เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

ท 2.1 ม.1/4   มีมารยาทในการเขียน

ท 4.1 ม.1/4   วิเคราะห์ความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียน

ท 4.1 ม 1/6   มีมารยาทในการฟัง ดู และพูด

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

ระบุความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียน

ด้านทักษะกระบวนการ

ภาษาพูดและภาษาเขียนได้อย่างเหมาะสม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

เห็นคุณค่าและความสำคัญของภาษาพูดและภาษาเขียน

การวัดผลและประเมินผล

8.2 เครื่องมือ

1. ใบงาน

2. แบบประเมินพฤติกรรมการตอบคำถาม

3. แบบประเมินมารยาทในการฟัง การดู

ปีการศึกษา 2567 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง น่าชื่นชม น่าเชิดชู
ชั่วโมง น่าชื่นชม น่าเชิดชู
เรื่อง ภาษาพูดและภาษาเขียน (2) 24 ธ.ค. 67 (มีใบงาน และใบความรู้)