สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  ภัยพิบัติในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย ล้วนส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน สังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติอันเกิดขึ้นทั้งปัจจัยทางธรรมชาติหรือการกระทำของมนุษย์ ทั้งนี้เป็นภัยที่เกี่ยวกับข้องกับสภาพอากาศ ได้แก่ วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง และไฟป่า รวมถึงภัยที่เกิดจากลักษณะทางโครงสร้างทางธรณีวิทยา ได้แก่ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ สึนามิ และแผ่นดินถล่ม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ส 5.1 ม.1/3  วิเคราะห์เชื่อมโยงสาเหตุและแนวทางป้องกันภัยธรรมชาติและการระวังภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย

ส 5.2 ม.1/4 วิเคราะห์แนวทางการจัดการภัยพิบัติและการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนียที่ยั่งยืน

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายความหมายของภัยพิบัติได้

2. แยกประเภทของการเกิดภัยพิบัติได้

ด้านทักษะกระบวนการ

วิเคราะห์แนวทางป้องกันภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนียได้

ด้านคุณลักษณะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

คุณลักษณะเฉพาะ

เห็นความสำคัญของผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

1. การตอบคำถาม

2. การตรวจผลงาน

8.2 เครื่องมือ

1. คำถามนำ

2. แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19

3. เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (Rubric)

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 “ต้องรอด” เรียนรู้ สู้ภัยพิบัติ (Rerun)
ชั่วโมง “ต้องรอด” เรียนรู้ สู้ภัยพิบัติ
เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภัยพิบัติ 17 ต.ค. 66 (มีใบกิจกรรม)