สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 เรียนรู้ประเด็นปัญหาจาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับมนุษย์ แนวทางการจัดการภัยพิบัติ การเอาตัวรอดเมื่อเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ การปฏิบัติตนก่อน ระหว่าง และหลังเกิดวาตภัย ในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ส 5.2 ม.1/3  สืบค้น อภิปรายประเด็นประเด็นปัญหาจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับมนุษย์ที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย

ส 5.2 ม.1/4  วิเคราะห์แนวทางการจัดการภัยพิบัติและการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. นักเรียนสามารถบอกและอธิบายความหมายของภัยแล้งได้อย่างถูกต้อง

2. นักเรียนสามารถบอกสาเหตุการเกิดภัยแล้ง ในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนียได้

ด้านทักษะกระบวนการ

นักเรียนมีทักษะการเอาตัวรอดและเสนอแนวทางการรับมือกับภัยแล้งในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนียได้

ด้านคุณลักษณะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

คุณลักษณะเฉพาะ           

1. นักเรียนตระหนักถึงผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยแล้ง

2. นักเรียนเห็นความสำคัญของเอาตัวรอดและมีแนวทางการรับมือกับภัยแล้งเมื่อในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

1. การตอบคำถาม

2. การตรวจผลงาน

8.2 เครื่องมือ

1. คำถามนำ

2. แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22

3. เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (Rubric)

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 “ต้องรอด” เรียนรู้ สู้ภัยพิบัติ
ชั่วโมง “ต้องรอด” เรียนรู้ สู้ภัยพิบัติ
เรื่อง ภัยแล้งในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย 4 ก.ค. 66