สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 สุภาษิตพระร่วงถูกสันนิษฐานว่าเป็นวรรณคดีคำสอนสมัยสุโขทัย ที่นับได้ว่าเก่าแก่ที่สุดของไทย แต่งเป็นคำประพันธ์ประเภทร่าย ใช้ภาษากระชับ แต่กินใจความมาก เรียงร้อยถ้อยคำให้มีสัมผัสคล้องจองอย่างไพเราะ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเป็นสุภาษิต ให้คุณค่า ในการสะท้อนลักษณะของวิถีชีวิตไทย แสดงพฤติกรรมของคน ที่ยังคงสามารถนำมาใช้ได้ทุกยุคสมัย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ท 4.1 ม.1/6  จำแนกและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

จำแนกลักษณะคำสอนที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องสุภาษิตพระร่วง

ด้านทักษะกระบวนการ

วิเคราะห์ได้ว่าคำสอนใดเป็นคำแนะนำหรือคำห้าม

ด้านคุณลักษณะ

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

1. การตรวจใบงาน

2. สังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม

8.2 เครื่องมือ

1. ใบงาน

2. แบบประเมินพฤติกรรมการตอบคำถาม

3. แบบประเมินมารยาทในการฟัง การดู

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เกลาความคิดด้วยคำคม
ชั่วโมง เกลาความคิดด้วยคำคม
เรื่อง สุนทรวาจา 7 ก.ย. 66 (มีใบงาน)