สำนวน จะเป็นการกล่าวที่ไม่ตรงไปตรงมา รวมสุภาษิต และคำพังเพยไว้ในสำนวนด้วย โดยใช้กล่าวในชีวิตประจำวันให้เหมาะกับสถานการณ์และบริบทต่าง ๆ เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิผล และผู้ฟังหรือผู้อ่านก็จะสามารถตีความและเข้าใจสำนวนนั้นได้อย่างถูกต้อง
7.1 ตัวชี้วัด
ท 5.1 ม.1/1 สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
ท 5.1 ม.1/2 วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านพร้อมทั้งยกเหตุผลประกอบ
ท 5.1 ม.1/3 อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
ท 5.1 ม.1/4 สรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
ท 5.1 ม.1/5 ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้
วิเคราะห์คุณค่าด้านเนื้อหาจากสรุปความรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางภาษาของสำนวนไทย
สมรรถนะหลักที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนด้านทักษะและกระบวนการ
อ่านออกเสียงสำนวนไทยได้ถูกต้อง
ด้านคุณลักษณะ
1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน
8.1 วิธีการ
1. การตรวจใบงาน
2. สังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม
8.2 เครื่องมือ
1. ใบงาน
2. แบบประเมินพฤติกรรมการตอบคำถาม
3. แบบประเมินมารยาทในการฟัง การดู และการพูดคำชี้แจง