สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 การอ่านออกเสียงในบทร้อยกรองภาษาไทยให้มีความไพเราะนั้น ผู้เรียนจำเป็นที่จะต้องศึกษาลักษณะและวิธีการการอ่านให้เข้าใจเพื่อให้ออกเสียง สูง ต่ำ หนัก เบา ยาว สั้น  เอื้อนเสียงและเน้นสัมผัสได้ชัดเจน ไพเราะ เป็นจังหวะเหมาะกับอารมณ์ของคำประพันธ์นั้น ๆ  โดยการอ่านออกเสียงในบทร้อยกรองนั้นสามารถอ่านได้หลากหลายรูปแบบ  ทั้งอ่านแบบทำนองเสนาะ  หรือแบบทำนองกลอนสวด เป็นต้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ท 1.1 ม.1/1    การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

1.บอกฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี 11

2.บอกลักษณะทั่วไปของกลอนสวด

3. อ่านออกเสียงกาพย์ยานี 11 โดยเว้นวรรคได้อย่างถูกต้องตามฉันทลักษณ์

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

1. ตรวจใบงานที่ 1 การเว้นวรรคการอ่านกาพย์ยานี 11 จากเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

 2. ทดสอบการอ่านออกเสียงกาพย์ยานี 11 เป็นทำนองเสนาะ

3. สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรม

8.2 เครื่องมือ

1. ใบงานที่ 1 การเว้นวรรคการอ่านกาพย์ยานี 11 จากเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

2. บทอ่านกาพย์ยานี 11 จากเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

3.แบบประเมินการทำกิจกรรม    

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง บทฝึกอ่านกับเรื่องเล่า
ชั่วโมง บทฝึกอ่านกับเรื่องเล่า
เรื่อง เสนาะเสียงร้อยกรอง (1) 13 ก.ค. 66 (มีใบงาน และใบความรู้)