สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 วรรณคดีและวรรณกรรมเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของไทยที่มีการถ่ายทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งควรค่าแก่การเรียนรู้และสืบสานต่อไป การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์วรรณคดีจะช่วยให้นักเรียนเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ท 5.1 ม.1/2 วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านพร้อมยกเหตุผลประกอบ

ท 5.1 ม.1/3 อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน

ท 5.1 ม.1/4 สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายแนวทางการวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีได้

2. วิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีเรื่องนิราศภูเขาทองได้

3. สรุปความรู้และข้อคิดที่ได้รับจากวรรณคดีเรื่องนิราศภูเขาทองได้

4. เขียนแผนภาพความคิดเรื่องนิราศภูเขาทองได้

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

1. ตรวจใบงานที่ 11 เรื่องแผนภาพความคิดสรุปเนื้อหาและคุณค่าของนิราศภูเขาทอง

2. การสังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม

8.2 เครื่องมือ

1. ใบงานที่ 11 เรื่องแผนภาพความคิดสรุปเนื้อหาและคุณค่าของนิราศภูเขาทอง

2. แบบประเมินพฤติกรรม

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระหว่างทางบันทึก
ชั่วโมง ระหว่างทางบันทึก
เรื่อง สรรสร้างนิราศภูเขาทอง (11) 26 มิ.ย. 66 (มีใบงาน และใบความรู้)