สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 ไตรยางศ์หรืออักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทยตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ของพยัญชนะแต่ละหมู่ เกี่ยวข้องกับ “คำเป็น” และ “คำตาย” ในภาษาไทยความรู้เรื่องไตรยางศ์จะช่วยให้ผู้เรียนสะกดคำได้ถูกต้องตามอักขรวิธีของภาษา

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ท 1.1 ม.1/1 อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน

ท 1.1 ม.1/2 จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน 

ท 2.1 ม.1/2 เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม และสละสลวย         

ท 3.1 ม.1/1 พูดสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู         

ท 4.1 ม.1/1 อธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทย

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

1. วิเคราะห์คำไตรยางศ์ คำเป็น คำตาย และเสียงวรรณยุกต์ได้

2. พูดอธิบายหลักของไตรยางศ์ได้

3. พูดอธิบายหลักการผันวรรณยุกต์ได้

4. พูดอธิบายและจำแนกคำเป็นคำตายได้

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

1. ตรวจใบงานที่ 2.1 เรื่องไตรยางศ์ และใบงานที่ 2.2 เรื่องเสียงวรรณยุกต์

2. ประเมินการพูดอธิบาย

3. การสังเกตพฤติกรรม

8.2 เครื่องมือ

1. ใบงานที่ 2.1 เรื่องไตรยางศ์ และใบงานที่ 2.2 เรื่องเสียงวรรณยุกต์

2. แบบประเมินการพูดอธิบาย

3. แบบประเมินคุณลักษณะ

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระหว่างทางบันทึก
ชั่วโมง ระหว่างทางบันทึก
เรื่อง เสนาะเสียง (2) 18 พ.ค. 66 (มีใบงาน และใบความรู้)