สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 การอาราธนา เป็นการกล่าวเชื้อเชิญให้พระภิกษุสงฆ์ในพิธีให้ศีล สวดพระปริตรหรือแสดงธรรม ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมที่พระสงฆ์จะต้องอาราธนาศีลก่อนจึงจะประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ การอาราธนาที่ถือเป็นธรรมเนียมมา แบ่งได้ 3 กรณี ได้แก่ การอาราธนาศีล อาราธนาธรรมและอาราธนา พระปริตร โดยชาวพุทธควรฝึกปฏิบัติให้ถูกต้อง เนื่องจากต้องนำมาใช้ปฏิบัติอยู่เสมอ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ส 1.2 ม.1/4 จัดพิธีกรรมและปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรมได้ถูกต้อง

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. นักเรียนสามารถบอกความหมายของการอาราธนาได้

2. นักเรียนสามารถเรียงลำดับการอาราธนาได้ถูกต้อง

ด้านทักษะกระบวนการ

นักเรียนสามารถกล่าวคำอาราธนาศีล อาราธนาธรรม และอารธนาพระปริตรได้
ด้านคุณลักษณะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

คุณลักษณะเฉพาะ

เห็นความสำคัญของการกล่าวคำอาราธนาจากการฝึกอาราธนาร่วมกันเป็นกลุ่ม

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการคิด

2. ความสามารถในการสื่อสาร

3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

 

การวัดผลและประเมินผล

8. วิธีการวัด/ประเมินผล

8.1 การตอบคำถาม

8.2 การตรวจผลงาน

9. เครื่องมือวัด/ประเมินผล

9.1 คำถามนำ

9.2 แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 42

9.3 เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (Rubric)

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย สภาจำลองผ่านมุมมองในห้องเรียน
ชั่วโมง สภาจำลองผ่านมุมมองในห้องเรียน
เรื่อง การจัดศาสนพิธีจำลอง (2) 7 ก.พ. 66 (มีใบกิจกรรม)