สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

คลื่นบรรยายได้ด้วยความยาวคลื่น แอมพลิจูด คาบ ความถี่ อัตราเร็วคลื่น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- บรรยายลักษณะส่วนประกอบของคลื่น

- อธิบายปริมาณที่ใช้บรรยายคลื่น

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การสังเกต สังเกตอย่างละเอียดทั้งการลงมือทำและผล เกี่ยวกับ ลักษณะและส่วนประกอบของคลื่น และวิธีการอธิบายคลื่น

          - การแปลความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลจากกิจกรรมและการอภิปราย เพื่อลงข้อสรุปได้เกี่ยวกับส่วนประกอบและปริมาณที่ใช้บรรยายคลื่น

          - การสร้างแบบจำลอง โดยใช้สื่อ อุปกรณ์ จำลองลักษณะของคลื่น และเขียนแผนภาพแสดงลักษณะ ส่วนประกอบของคลื่น เพื่ออธิบายส่วนประกอบของคลื่นกล ความสัมพันธ์ส่วนประกอบของคลื่นกับการบรรยายคลื่น        ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          - วัตถุวิสัย โดยแปลความหมายข้อมูลให้สอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง    - ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

          - ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

          - ความมุ่งมั่นอดทน โดยตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

           - การจัดการตนเอง โดยระบุเป้าหมายการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ ทำงานตามบทบาทหน้าที่ และบริหารจัดการงานและเวลา

          - การรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานเป็นทีม มีการสะท้อนการทำงานและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน

          - การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้ความรู้เรื่องคลื่นเพื่ออธิบายปรากการณ์ที่กำหนดให้

          - การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรมหรือการสืบค้นและลงข้อสรุปเกี่ยวกับการเกิดคลื่น ประเภทของคลื่น และปริมาณที่บรรยายคลื่น คลื่นกลหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. การนำเสนอ หรือแสดงความเห็นสื่อสารเกี่ยวกับส่วนประกอบของคลื่น และปริมาณที่บรรยายคลื่นถูกต้อง  

2. การตอบคำถาม ในใบงานอธิบายเกี่ยวกับส่วนประกอบของคลื่น และปริมาณที่บรรยายคลื่นถูกต้อง
3. การบันทึกผลของกิจกรรมว่าได้สังเกตอย่างละเอียด และไม่ลงความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป

4. การตอบคำถามในใบงาน ว่าได้แปลความหมายข้อมูล และสร้างข้อสรุปจากความสัมพันธ์ของข้อมูล 

5. การสังเกตพฤติกรรมการสร้างคลื่นจำลอง และการบันทึกผลในใบงาน เพื่อแสดงความสัมพันธ์ปริมาณที่ใช้คลื่นและส่วนประกอบของคลื่นให้เข้าใจได้ถูกต้อง 

6. การบันทึกผลและการตอบคำถามในใบงานที่สะท้อนความสอดคล้องของหลักฐานและการแปลความหมายที่เที่ยงตรง

7. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็นในการทำงานและผลของทำกิจกรรม

8. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความมุ่งมั่นอดทนเพื่อทำงานระหว่างกิจกรรม และทำให้งานประสบความสำเร็จ    9. การสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงาน และการบันทึกผลการทำกิจกรรม ที่สะท้อนความเข้าใจเป้าหมายของงานรับผิดชอบภาระงาน บทบาทและหน้าที่ของตนเอง และมีวินัยในการทำงาน

10. การสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลกิจกรรม ที่สะท้อนการมีส่วนร่วมในกระบวนการจนบรรลุเป้าหมาย รวมถีงมีส่วนร่วมในการประเมินและปรับปรุงการทำงาน ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างภายในกลุ่ม      11. การตอบคำถามในใบงาน ซึ่งวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับส่วนประกอบของคลื่นและปริมาณที่ใช้ในการบรรยายคลื่นที่สะท้อนความสัมพันธ์ของข้อมูลกับหลักฐาน

เครื่องมือ

          1. ใบกิจกรรมที่ 2 ปริมาณที่ใช้ในการอธิบายคลื่นมีอะไรบ้าง
          2. ใบงานที่ 2 ปริมาณที่ใช้ในการอธิบายคลื่นมีอะไรบ้าง

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง แสง
ชั่วโมง แสง
เรื่อง คลื่นกลและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (2) 4 ก.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)