สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

นิพจน์ที่อยู่ในรูปเอกนามหรือเขียนอยู่ในรูปการบวกกันของเอกนามตั้งแต่สองเอกนามขึ้นไปได้ เรียกว่า  พหุนาม

เราจะเรียกพหุนามที่ไม่มีพจน์ที่คล้ายกันเลยว่า พหุนามในรูปผลสำเร็จ  เมื่อเขียนพหุนามให้อยู่ในรูปผลสำเร็จแล้ว

จะเรียกดีกรีสูงสุดของพจน์ของพหุนามในรูปผลสำเร็จว่า ดีกรีของพหุนาม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ค 1.2 ม.2/1 เข้าใจหลักการการดำเนินการของพหุนาม และใช้พหุนามในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

ค 1.2 ม.2/2 เข้าใจและใช้การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

           นักเรียนสามารถเขียนพหุนามในรูปผลสำเร็จ

 ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

1. สื่อสารและสื่อความหมายโดยใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการเขียนพหุนามในรูปผลสำเร็จ

2. เชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับเอกนาม เพื่อศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพหุนามและพหุนามในรูปผลสำเร็จ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. แบบฝึกหัด 3 : รู้จักพหุนาม

2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

เครื่องมือ

1. แบบฝึกหัด 3 : รู้จักพหุนาม

2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 แยกได้ ประกอบได้
ชั่วโมง แยกได้ ประกอบได้
เรื่อง กลยุทธ์พื้นฐานชำนาญการบวกลบ (3) 27 ก.พ. 66 (มีแบบฝึกหัด)