สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

นิพจน์ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป และเลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก เรียกว่า เอกนาม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ค 1.2 ม.2/1 เข้าใจหลักการการดำเนินการของพหุนาม และใช้พหุนามในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

ค 1.2 ม.2/2 เข้าใจและใช้การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

           นักเรียนสามารถ

          1. จำแนกได้ว่า นิพจน์ที่กำหนดให้เป็นเอกนามหรือไม่เป็นเอกนาม

          2. ระบุสัมประสิทธิ์ ตัวแปร และดีกรีของเอกนาม

ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลัง เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับดีกรีของเอกนาม

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

1. แบบฝึกหัด 1 : รู้จักเอกนาม 

2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

เครื่องมือ

1. แบบฝึกหัด 1 : รู้จักเอกนาม 

2. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

3. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 แยกได้ ประกอบได้
ชั่วโมง แยกได้ ประกอบได้
เรื่อง กลยุทธ์พื้นฐานชำนาญการบวกลบ (1) 21 ก.พ. 66 (มีแบบฝึกหัด)