สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

           ระบบนิเวศเป็นระบบที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่มีชีวิตและองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต องค์ประกอบทั้งสองส่วนนี้จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม ระบบนิเวศก็จะอยู่ในภาวะสมดุลและคงอยู่ต่อไปได้ แต่ถ้ามีสิ่งแปลกปลอม เช่น สารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตเข้ามากระทบต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ แล้วทำให้ปริมาณสัดส่วน และการกระจายของผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าสิ่งแปลกปลอมดังกล่าวเข้ามาในระบบนิเวศไม่มากนัก ก็จะเกิดผลกระทบไม่มาก ระบบนิเวศก็สามารถปรับตัวเข้าสู่สมดุลได้ใหม่อีก แต่ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมมาก และรุนแรงเกินกว่าที่ระบบนิเวศจะปรับตัวเข้าสู่สมดุลได้ใหม่ ระบบนิเวศนั้นก็จะถูกทำลายลง ดังนั้นการดูแลรักษาระบบนิเวศให้เกิดความสมดุล และคงอยู่ตลอดไปจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- ระบุแนวทางการดูแลรักษาระบบนิเวศในท้องถิ่น

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

- การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยบอกปัญหา และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาระบบนิเวศในท้องถิ่น

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. บันทึกผลและตอบคำถามท้ายกิจกรรมในใบงานที่ 2 เราจะดูแลรักษาระบบนิเวศในท้องถิ่นได้อย่างไร

2. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง จากการนำเสนอ การอภิปราย และตอบคำถาม  เกี่ยวกับปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาระบบนิเวศในท้องถิ่น

เครื่องมือ

1. ใบกิจกรรมที่ 2 เราจะดูแลรักษาระบบนิเวศในท้องถิ่นได้อย่างไร

2. ใบงานที่ 2 เราจะดูแลรักษาระบบนิเวศในท้องถิ่นได้อย่างไร

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
ชั่วโมง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
เรื่อง การสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิต (3) วันที่ 7 มี.ค. 66 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)