สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในระบบนิเวศนั้นมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่

- ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ (+, +)

- สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งได้ประโยชน์ขณะที่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ (+, 0)

- สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งได้ประโยชน์ขณะที่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งเสียประโยชน์(+, -)

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ ร่วมกันในระบบนิเวศ

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การจำแนกประเภท โดยจำแนกรูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

1. การบันทึกผลการทำกิจกรรมในใบงานที่ 1 ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 และตอบคำถามท้ายกิจกรรม

2. การจำแนกจากบันทึกผลการทำกิจกรรมโดยสามารถจำแนกและจัดกลุ่มรูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
 เครื่องมือ

1. ใบกิจกรรมที่ 1 สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

2. ใบงานที่ 1 สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
ชั่วโมง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ (2) วันที่ 14 ก.พ. 66 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)