สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี อะตอมแต่ละชนิดก่อนและหลังเกิดปฏิกิริยาเคมีมีจำนวนเท่ากัน โดยอะตอมไม่สูญหายหรือเกิดขึ้นใหม่ มีเพียงการจัดเรียงตัวกันใหม่

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

- อธิบายการจัดเรียงตัวใหม่ของอะตอมเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยใช้แบบจำลอง

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การสังเกต โดยใช้ประสาทสัมผัสสังเกตการจัดเรียงตัวใหม่ของลูกปัดซึ่งแทนอะตอมของสาร

2. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยการแปลความหมายเกี่ยวกับจำนวนอะตอมของธาตุเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี เพื่อลงข้อสรุปว่าอะตอมของธาตุแต่ละชนิดจะไม่สูญหายไปหรือเกิดขึ้นใหม่

3. การสร้างแบบจำลอง โดยนำเสนอและอธิบายเกี่ยวกับการจัดเรียงตัวใหม่ของอะตอม

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

1. การตอบคำถามในห้องเรียน เพื่ออธิบายเกี่ยวกับการจัดเรียงตัวใหม่ของอะตอมเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี

2. การตอบคำถามในใบงาน เพื่ออธิบายเกี่ยวกับการจัดเรียงตัวใหม่ของอะตอมเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี

3. การนำเสนอผลการทำกิจกรรม เพื่ออธิบายเกี่ยวกับการจัดเรียงตัวใหม่ของอะตอมเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี

เครื่องมือ

1. ใบกิจกรรมที่ 2 แปลงร่างสร้างตัว

2. ใบงานที่ 2 แปลงร่างสร้างตัว

3. ใบความรู้ที่ 2 การจัดเรียงตัวใหม่ของอะตอมเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
ชั่วโมง การเกิดปฏิกิริยาเคมี
เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมีและการเขียนสมการข้อความ (3) วันที่ 3 ม.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้และใบกิจกรรม)